Geometric Oriental Corner Frame

แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน

ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

นางสาวสุดาพร อินชิดจุ้ย

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

Geometric Oriental Corner Frame

คลิกเพื่อชมผลงาน

3D Stylized Sparkle Emoji
3D Stylized Sparkle Emoji
Geometric Oriental Corner Frame

ประวัติผู้ประเมิน

3D Floating Element Folder

ข้อตกลง PA และรายงาน​ผลการปฏิบัติงาน

Geometric Oriental Corner Frame
School supplies
Handdrawn Painterly Cute Objects Mobile Phone

คณะกรรมการ PA

ผลงานประเมิน PA

นางสาวสุดาพร อินชิดจุ้ย

ตำแหน่ง ครู ยังไม่มีวิทยฐานะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

ประวัติส่วนตัวผู้รับประเมิน

  • ชื่อ-สกุล นางสาวกฤติยา พลหาญ
  • ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  • สอนรายวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้นม.2 และ ม.6
  • ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นม.6/4 (สายศิลป์-เทคโน)


  • ชื่อ-สกุล นางสาวสุดาพร อินชิดจุ้ย
  • ตำแหน่ง ครู ยังไม่มีวิทยฐานะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
  • สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา​กรุงเทพมหานคร เขต ๒
  • สอนรายวิชา ห้องสมุดสู่สากล ม.1

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ม.2

  • ค​รูที่ปรึกษานักเรียน ชั้น ม.1/15


Next Arrow Icon

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

3D Floating Element Folder

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

รายวิชา ห้องสมุดสู่สากล จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมชุมนุม Idea can do จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 11 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์​

3d file icon pdf
3d file icon pdf
Next Arrow Icon
3D School Elements Composition Books Toga and Clock

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์​การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการทำงานกลุ่ม เรื่อง การเขียน

และการนำเสนอโครงงาน รายวิชาโครงงานบูรณาการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

สภาพปัญหาของผู้เรียนยังพบปัญหานักเรียนขาดทักษะการปฏิบัติงาน ทำให้มีความล่าช้าในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากนักเรียนบางคนยังไม่เข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น ครูผู้สอนจึงได้ใช้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาการขาดทักษะการปฏิบัติงาน และได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ (Active Learning) ในเรื่องการเขียนและการนำเสนอโครงงาน ช่วยให้นักเรียนได้มีการวางแผนการทำกิจกรรม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจในกระบวนการทำงาน ส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาร่วมกัน นักเรียนมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น สามารถแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ และยังส่งผลดีทางด้านจิตใจในการเรียนของนักเรียน

Clean Expressive Employee Reviewing Critical Document
3d file icon pdf

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: ลักษณะงาน :::

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุม ถึง การสร้างและหรือ​พัฒนาหลักสูตรการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัด​กิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม​เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการ​จัดการเรียนรู้ การศึกษา การวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อแก้ไข​ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและ​พัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้​เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร :::

  • ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตร ​กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2567
  • ข้าพเจ้าได้จัดทำหลักสูตร และวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ​ผลการเรียนรู้และนำไปจัดทำแผนการสอน โดยการปรับประยุกต์ให้ ​สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น
  • ข้าพเจ้าได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ​และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ​การคิดเชิงวิจารณญาณ และผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะ และการเรียนรู้ ​เต็มตามศักยภาพ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถาน ​ศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ ​ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ​ประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตาม​หลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้อง กับบริบทของสถาน​ศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น และใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active ​Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 ​Steps โดยเน้นทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ และสามารถนำไปใช้ใน ​การดำเนินชีวิตประจำวันได้

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตาม​กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ซึ่งเป็นวิธีเรียนรู้ (How to Learn) ​ที่ผู้เรียนสามารถนำไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ผ่านการรวบรวมข้อมูล (Gathering) การจัด​ข้อมูลให้เกิดความหมายผ่านการคิดวิเคราะห์ เพิ่มคุณค่า คุณธรรม ค่านิยม ออกแบบ​สร้างสรรค์ สร้างทางเลือก ตัดสินใจเลือกเป้าหมายแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ ​(Processing) วางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบแก้ปัญหา พัฒนาไปสู่ระดับนวัตกรรม (Applying ​1) โดยผู้เรียนสามารถสรุปเป็นความรู้ระดับต่าง ๆ จนถึงระดับหลักการ สามารถนำเสนอได้​อย่างมีแบบแผน (Applying 2) และประเมินภาพรวมเพื่อกำกับความคิดและขยายค่านิยมสู่​สังคมและสิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางขึ้น (Self-Regulating) ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้ ​สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และทางออนไลน์ เพื่อเข้ากับบริบทของ​ผู้เรียนอย่างเหมาะสม ตามแผนการจัดการเรียนรู้
  • ข้าพเจ้าได้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริม ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ​เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน ​และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ และเห็นคุณค่า

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ​เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและ แหล่งเรียน​รู้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีการปรับประยุกต์ ให้สอดคล้อง​กับความแตกต่างของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียน มีทักษะการคิดและสามารถ​สร้างนวัตกรรมได้
  • ข้าพเจ้าได้สร้างเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาโครงงานบูรณาการ
  • ข้าพเจ้าได้สร้างสื่อ Power Point เรื่อง การเขียนและการนำเสนอ ​โครงงาน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม
  • ข้าพเจ้าได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้​แบบActive Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ​GPAS 5 Steps

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.5 การวัดและประเมินผล :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างแบบวัดและประเมินผลตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลาก​หลายเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้​อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพจริงและวัดการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้​ปัญหาผู้เรียนที่ยังขาดทักษะการทำงานกลุ่ม พิจารณาจาก

1) แบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาโครงงานบูรณาการ

2) แบบประเมินผลงาน เรื่อง การเขียนโครงงาน

3) แบบประเมินการนำเสนอโครงงาน

4) แบบสังเกตพฤติกรรม ทักษะการทำงานกลุ่มของผู้เรียน

5) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ ​เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ​การจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ เพื่อ​แก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และ​ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหา​หรือพัฒนาการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ดังนี้

1) ทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ

2) กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

  • ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ผลการวิจัย​มาใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาโครงงานบูรณาการ เรื่อง การ​เขียนและการนำเสนอโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน :::

  • มีการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ​ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้ และ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ นวัตกรรม และ​เทคโนโลยี ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนและลักษะของผู้เรียน ดังนี้

1) เร้าความสนใจด้วย สื่อการสอน ที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ทันสมัย เข้ามา ​ใช้ในการจัดการชั้นเรียน

2) ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสนำเสนอความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ​โดยผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแก่นความรู้ได้อย่างแท้จริง

4) ใช้สื่อการเรียนการสอน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาโครงงานบูรณาการ

5) ใช้รูปแบบการสอนด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ​GPAS 5 Steps

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะ ​ที่ดีของผู้เรียน :::

  • ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ ​อันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดย ​การปลูกฝังผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ​ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย และมุ่งมั่นในการทำงาน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Writing Tools in Can

::: ลักษณะงาน :::

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึง สารสนเทศของ ​ผู้เรียน และรายวิชาที่ครูสอนให้ผู้เรียนและผู้ปกครองสามารถ​เข้าถึงสารสนเทศได้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาผู้เรียนให้มีความ​พร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาได้ เช่น การ​เยี่ยมบ้านนักเรียน คัดกรองนักเรียนยากจน การวิเคราะห์ ​ผู้เรียนรายบุคคล การประเมิน SDQ ทะเบียนแสดงผลการ​เรียน ระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนโดยโปรแกรม My ​School เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Writing Tools in Can

::: 2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและ​รายวิชา :::

  • ข้าพเจ้าได้สรุปสารสนเทศผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์โดยใช้ข้อมูล ​จากแบบฝึกหัด ผลงาน และการทำกิจกรรม เรื่อง การเขียน​และการนำเสนอโครงงาน สรุปสารสนเทศของผู้เรียนที่ไม่ผ่าน​เกณฑ์เพื่อแจ้งผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่าน​เกณฑ์

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Writing Tools in Can

::: 2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้​เรียน :::

  • ข้าพเจ้าใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคล และประสาน ​ความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาผู้เรียน

- มีการวิเคราะห์ผู้เรียน โดยใช้ผลการเรียนจากภาคเรียนที่ 2/2566 ​ในรายวิชาโครงงานบูรณาการ

- หลังพบผู้เรียนที่ขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ หลักธรรมทาง​พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงได้จัดกิจกรรม​การเรียนรู้ด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 ​Steps ในรายวิชาโครงงานบูรณาการ เรื่อง การเขียนและการนำเสนอ​โครงงาน เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาการขาดทักษะการทำงานกลุ่ม

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Writing Tools in Can

::: 2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของ​สถานศึกษา :::

  • ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ​ของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ​ของสถานศึกษา

- งานพัสดุห้องสมุด (ครูบรรณารักษ์)

- งานสารสนเทศห้องสมุด

- งานวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

- งานเลขาระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มบริหารงานบุคคล

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Writing Tools in Can

::: 2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ​ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ :::

  • ข้าพเจ้าได้แจ้งปัญหาผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ผู้ปกครอง​ทราบผ่านครูที่ปรึกษา โดยการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึง​การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดทักษะการ​ทำงานกลุ่ม รายวิชาโครงงานบูรณาการ เรื่องการเขียนและ​การนำเสนอโครงงาน โดยใช้ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม ​เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนให้ผ่านเกณฑ์ตามค่าเป้าหมายของ​สถานศึกษา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Writing Tools in Can

::: ลักษณะงาน :::

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึงการพัฒนา​ตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องการมีส่วนร่วมใน ​การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการ​จัดการเรียนรู้และนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้ ​จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ใน การจัด​กิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาเทคโนโลยี สื่อ ​นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Writing Tools in Can

::: 3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง :::

  • ข้าพเจ้าเข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและ ​ต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะ​อย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา สมรรถนะ​วิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน
  • ข้าพเจ้าเข้ารับอบรมหรือศึกษาการกระบวนการจัดการเรียน ​การสอนที่สร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของผู้เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Writing Tools in Can

::: 3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้​ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ​ในการแก้ปัญหาการขาดทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม ​รายวิชาโครงงานบูรณาการ เพื่อพัฒนาการจัดการ​เรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Writing Tools in Can

::: 3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนา​ตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัด การเรียนรู้ ​การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมการ​จัดการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้านำผลจากการอบรมพัฒนาตนเองและการเข้าร่วมชุมชน ​การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไปใช้สร้างสื่อในการจัดกิจกรรม ​การเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือแก้ไข​ปัญหาของผู้เรียนที่ขาดทักษะกระบวนการทำงานกลุ่มมาใช้ได้อย่าง​ถูกต้องและเหมาะสม

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon

ส่วนที่ 2

ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

Writing Tools in Can

::: ประเด็นท้าทาย :::

  • การแก้ปัญหาการขาดทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ​รายวิชาโครงงานบูรณาการ เรื่อง การเขียนและ
  • การนำเสนอโครงงาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ​โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Next Arrow Icon
Buildable Storybook Classroom Stack of Books and Apple

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

การใช้กระบวนการทำงานกลุ่มแก้ปัญาหาการขาดทักษะการปฏิบัติงาน เรื่องการเขียนและการนำเสนอโครงงานในรายวิชา ​โครงงานบูรณาการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ (Active Learning) ด้วยการให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมใน ​การจัดกิจกรรม โดยการแบ่งกลุ่มการทำงาน ครูผู้สอนติดตามความก้าวหน้า กระบวนการทำงาน และนำไปสู่การแก้ปัญหา ในระหว่าง ​การปฏิบัติงานครูผู้สอนได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้สอนภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนต่าง​กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

การจัดการเรียนการสอนแบบ (Active Learning)

1. จัดการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

2. จัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

5. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

6. กระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

7. กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง

8. กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด

9. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

10. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

Elementary School Classroom Illustration with Female Teacher
Next Arrow Icon

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)๒ จำนวน 6 ห้อง รวมจำนวน​ผู้เรียนทั้งหมด 240 คน ร้อยละ 75 ที่เรียนในรายวิชา โครงงานบูรณาการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ​1 มีผลการพัฒนาทักษะการทำงานและผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น


Next Arrow Icon

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

3.2 เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)๒ จำนวน 1 ห้อง ​รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 40 คน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา และสามารถนำ​ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการตัดสินใจใน​สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


Next Arrow Icon

กราบขอบพระคุณ

ท่านกรรมการทุกท่านเป็นอย่างสูง

นายกรวิทย์ เลิศศิริโชติ

ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

นางจิติมา ตั้งสุภากิจ

ครุชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์

นางสาวกัลยวีร์ กิตติเศวตพงศ์

ครุชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์

Yellow Facebook Icon
Youtube Official Icon
LINE
Next Arrow Icon